โรคต้อหิน
การรักษาแนวใหม่ โดยวิธีนวดตา
ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องเลเซอร์ ไม่ต้องใช้ยา
จัดทำ
เมษายน 2548
โดย นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
จักษุแพทย์
1.จุดประสงค์ในการจัดทำเวปไซต์
เพื่อแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากโรคต้อหินชนิดมุมเปิด
ซึ่งเป็นต้อหินชนิดที่พบมากที่สุด
2.โรคต้อหินคืออะไร ?
ในลูกตาของคนเรา
จะมีระบบไหลเวียนของของเหลวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า น้ำaqueous ซึ่งสร้างจากciliary
body ภายในลูกตา ไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงเลนส์แก้วตาและกระจกตา ( ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่มีระบบไหลเวียนของเลือดมาหล่อเลี้ยง
) หลังจากนั้น น้ำ aqueous จะถูกระบายออกจากลูกตาผ่านทางช่องตะแกรงที่เรียกว่า
Trabecular meshwork และไหลซึมออกจากลูกตาทางระบบ Uveo-scleral pathway.
ความดันภายในลูกตา
(IOP ) ขึ้นอยู่กับดุลยภาพระหว่าง การสร้างและการระบายออกของน้ำ aqueous ภายในลูกตานั่นเอง.
ความดันภายในลูกตา ช่วยให้ลูกตาของคนเราคงรูปร่างอยู่ได้ คนส่วนใหญ่จะมีความดันลูกตาอยู่ระหว่าง
9 - 21 มม.ปรอท และมีค่าเฉลี่ยราวๆ 15 มม.ปรอท หากมีการขวางกั้นการระบายของน้ำ
aqueous ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม จะทำให้ความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดที่จะหล่อเลี้ยงระบบประสาทของลูกตา
เข้ามาไม่สะดวก ทำให้ขั้วประสาทตาฝ่อลง จนตาบอดได้ในที่สุด.
3. โรคต้อหินชนิดต่างๆ
3.1 โรคต้อหินแต่กำเนิด
เกิดจากความผิดปกติในการก่อกำเนิดระบบระบายของน้ำ aqueous ทำให้ความดันภายในลูกตาค่อยๆสูงขึ้น
ขนาดของลูกตาจะขยายและโตออก เนื่องจากโครงสร้างลูกตาของเด็กยังบอบบางอยู่ และกระจกตาดำมักจะมีขนาดใหญ่และสีขาวขุ่น
3.2 โรคต้อหินชนิดมุมปิด
เกิดจากบริเวณโคนของม่านตา ไปปิดทางระบายของน้ำ aqueous ที่ช่องตะแกรงอย่างเฉียบพลัน
ความดันลูกตาจะพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการ ตาแดง ตามัวและ ปวดตา ปวดหัวซีกนั้นอย่างรุนแรง
3.3 โรคต้อหินเรื้อรังชนิดมุมเปิด
ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน
ช่องตะแกรงที่เป็นทางระบายของน้ำ aqueous จะมีเศษตะกอนมาอุดกั้น มากบ้างน้อยบ้าง
ทำให้ความดันลูกตาค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ โดยไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น เซลล์และเส้นประสาทตาจะค่อยๆขาดการหล่อเลี้ยงของระบบไหลเวียนของเลือด
จากแรงต้านของความดันภายในลูกตา และค่อยๆตายไปทีละน้อยๆ จนกระทั่งตาบอดไปในที่สุด
3.4 โรคต้อหินชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อหินที่เกิดจากการอักเสบในช่องหน้าลูกตาที่เรียกว่า Glaucomatocyclitic crisis (โรคต้อหิน GCC)
4. การรักษา
4.1 การใช้ยากินและยาหยอดตา
เพื่อลดความดันลูกตา
4.2 การใช้เลเซอร์
เพื่อลดความดันลูกตา โดย
4.2.1
ยิงเลเซอร์ที่โคนม่านตาโดยรอบ เพื่อถ่างช่องตะแกรงให้ระบายน้ำ aqueous ได้ดีขึ้น
4.2.2
ยิงเลเซอร์เจาะช่องตะแกรงที่ตีบตัน ให้ระบายได้ดีขึ้น
4.2.3
ยิงเลเซอร์ทำลายเซลล์ที่สร้างน้ำ aqueous บางส่วน เพื่อลดการสร้างน้ำ aqueous
4.3 การผ่าตัดเปิดช่องทางระบายน้ำ
aqueous ขึ้นมาใหม่
4.4 การนวดตารักษาต้อหิน
เป็นทางเลือกใหม่ที่คิดค้นขึ้นมาโดย นพ.สมเกียรติ
อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ไทย ในปี พ.ศ.2546