บทนำ
          บทความที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ เหมาะสำหรับจักษุแพทย์ที่ใฝ่รู้และผู้ป่วยที่สนใจศึกษาโรคที่ตนเองเป็นอยู่ เนื้อหาทั้งหมดเป็นการคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น เป็นการคิดนอกกรอบเพื่อหาสาเหตุและ วิธีรักษาโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงตลอดจนวิธีรักษาที่ถูกต้อง โดยอาศัยการศึกษาจากผลทางด้านคลินิค โดยคาดหวังว่า ในอนาคต จะมีนักวิจัยที่สนใจทำการค้นคว้าวิจัยยืนยันผล เพื่อไขปริศนาโรคของจอประสาทตาหลายชนิดที่ยังดำมืดและยังไม่พบหนทางที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้
นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
5 ธันวาคม 2550



กลไกความสัมพันธ์ของ Retinal artery
Retinal vein และ Lamina cribrosa
          แรงดันเลือดแดงของ Retinal artery เมื่อผ่านชั้น Lamina cribrosa ก่อนเข้าลูกตา จะถูกปรับลดลงจนไม่มีแรงดันชีพจร ( pulsation ) เพื่อไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของเซลล์ประสาทตาที่ทำหน้าที่แปลงสัญญานภาพและแสง ให้เป็นสัญญานไฟฟ้าเพื่อส่งไปตามเส้นใยประสาทตาเข้าสู่สมอง อย่างไรก็ตาม แรงดันเลือดแดงที่ลดลง จะต้องเหลือในปริมาณที่มากกว่าแรงดันภายในลูกตาในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถส่งเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทภายในลูกตาที่ทำงานอย่างเต็มที่ได้อย่างพอเพียง ถ้าหากการรัดตัวของแผ่น Lamina cribrosa ที่กระทำต่อ Retinal artery มากเกินพอดี ก็จะเกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างปริมานเลือดแดงที่เข้ามาหล่อเลี้ยงและปริมานการทำงานของเซลล์ประสาทตา เกิดสภาพเลือดแดงไม่พอหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตาทั้งหมด หากการขาดเลือดดังกล่าวไม่รุนแรง เซลล์ประสาทตาส่วนที่อ่อนแอกว่าก็จะค่อยๆทยอยตายไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ เกิดโรคต้อหินเรื้อรัง ( Chronic glaucoma ) แต่ถ้าการตีบรัดของแผ่น Lamina cribrosa มีลักษณะที่รุนแรงกว่า ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดเลือดแดงมากกว่า และเซลล์ประสาทตาทยอยตายลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรค Non-arteritic ischemic optic neuropathy หรือถ้าการตีบของ Retinal artery ในบริเวณ Lamina cribrosa นั้น หากบังเอิญมีเศษตะกอนอะไรสักอย่าง ( Emboli ) ไหลผ่านเข้าไปอุดขวางทางเดินของเลือดแดงทันทีทันใด ก็จะทำให้เกิดโรค Acute retinal artery occlusion ได้ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง Retinal artery และ Lamina cribrosa หากทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป ก็อาจทำให้เกิดโรคที่ยังรักษาไม่ได้ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว

          แรงดันเลือดแดงที่ถูกปรับลดลงโดยแผ่น Lamina cribrosa เมื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทในลูกตาแล้ว ก็จะถูกส่งผ่านเข้าสู่ระบบเส้นเลือดดำภายในลูกตา ( Retinal vein ) ซึ่งจะมีแรงดันในเส้นเลือดยิ่งต่ำลงไปอีก จนไม่อาจทนต่อแรงดันภายในลูกตาที่กดลงบนเส้นเลือดดำที่มีผนังบอบบางได้ และจะทำให้เส้นเลือดดำฟีบลงจนไม่อาจนำเลือดเสียออกไปนอกลูกตาได้ ดังนั้น กลไกการรัดตัวของแผ่น Lamina cribrosa ที่มีต่อเส้นเลือดดำ ( Central retinal vein ) ในบริเวณขั้วประสาทตา จึงมีความสำคัญต่อระบบไหลเวียนเลือดภายในลูกตาเป็นอย่างยิ่ง การรัดเส้นเลือดดำที่พอเหมาะในบริเวณขั้วประสาทตา จะทำให้แรงดันภายในเส้นเลือดดำเพิ่มขึ้นและคงสภาพของท่อที่จะนำพาเลือดดำออกจากลูกตา เพื่อเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายในที่สุด ถ้ากลไกดังกล่าวทำงานผิดเพี้ยนไปจากการรัดตัวของแผ่น Lamina cribrosa ที่มากเกินพอดี ในกรณีที่การรัดไม่รุนแรง จะเกิดแรงดันย้อนกลับทำให้เกิด Central retinal vein pulsation ที่บริเวณขั้วประสาทตาหรืออาจเกิดการรั่วซึม ( Leakage ) ของน้ำเลือด ( Serum ) ในบริเวณเชื่อมต่อของปลายเส้นเลือดดำ และ ปลายเส้นเลือดแดง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า Macula และทำให้เกิดโรค Cystic serous choroidoretinopathy หรือเกิดการรั่วซึมของน้ำเลือด ( Blood )ใกล้ขั้วประสาทตา ( 0ptic disc hemorrhage ) ซึ่งเป็น sign หนึ่งที่จักษุแพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคต้อหินเรื้อรังชนิดความดันลูกตาไม่สูง ( Normal tension glaucoma ) แต่ถ้าการหดรัดของแผ่น Lamina cribrosa รุนแรง จะเกิดแรงดันย้อนกลับสะสมเพิ่มสูงขึ้นมาก เส้นเลือดดำจะโป่งพองและคดเคี้ยว ระบบไหลเวียนเลือดภายในลูกตาชงักงัน จนทำลายเซลล์ประสาทภายในลูกตาในที่สุด และเรียกโรคนี้ว่า Central retinal vein occlusion

          ดังนั้น หากมีวิธีการใดๆที่สามารถปรับสมดุลย์ให้กับการทำงานที่สัมพันธ์กันของโครงสร้างทั้งสามได้ ก็จะสามารถป้องกันและรักษาโรคดังที่กล่าวมาทั้งหมดได้ อนึ่ง ยังมีโรคของจอประสาทตาที่สำคัญอีก 2 โรคที่อาจมีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของโครงสร้างทั้งสามคือ
          1. Retinitis pigmentosa โรคนี้มีลักษณะอาการ อาการแสดง และการดำเนินโรค คล้ายกับโรคต้อหินเรื้อรังเป็นอย่างมาก มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมชัดเจนเหมือนกัน มีการสูญเสียเซลล์ประสาทตาไปอย่างช้าๆเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ชนิดของเซลล์ที่ตาย กล่าวคือ Chronic glaucoma เซลล์ส่วนใหญ่ที่ตายจะเป็นเซลล์ชั้นบนที่เรียกว่า Ganglion cells ส่วน Retinitis pigmentosa เซลล์ที่ตายส่วนใหญ่อยู่ในชั้น Rod and cone cells จึงตั้งสมมติฐานว่า สาเหตุของโรคนี้ น่าจะเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดเช่นเดียวกัน ( ดูรายละเอียดได้ที่ http://rpsiam.doctorsomkiat.com )
          2. Age-related macular degeneration โรคนี้มีความสัมพันธ์กับอายุและความแข็งกระด้างของเส้นเลือด ( Arteriosclerosis ) ทำให้เลือดแดงเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทตาได้ไม่พอเพียง เกิดการสูญเสียเซลล์ประสาทตาในบริเวณศูนย์กลางการมองเห็น ( Macula ) หากสามารถปรับเพิ่มการไหลเวียนเลือดแดงให้เข้าไปหล่อเลี้ยงได้เพิ่มขึ้น ก็จะช่วยทั้งการป้องกันและรักษาโรคนี้ได้เช่นกัน ( ดูรายละเอียดใน http://amd.doctorsomkiat.com )

หน้า 1  2  3  4

-->กลับสู่หน้าแรกของเวบโรคต้อหิน <--

-->กลับสู่หน้าหลักงานวิจัยของน.พ. สมเกียรติ<--